ผู้หญิงทำหน้าสงสัยข้างเครื่องฟอกอากาศ

จะรู้ได้ยังไงว่าเครื่องฟอกอากาศกรองอากาศได้จริง

by Karl von Luckwald / ตุลาคม 9, 2024

แบรนด์เครื่องฟอกอากาศต่างอ้างว่าสามารถกรองมลภาวะอากาศได้ถึง 99.9%

นับว่าดีเลยทีเดียว แต่คุณเคยเห็นไวรัสด้วยตาเปล่าไหม หรือมลพิษ PM2.5 และสารก่อภูมิแพ้ล่ะ

เราก็ไม่เคยเห็นเช่นกัน

มลพิษในอากาศส่วนใหญ่ไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้น จะตรวจสอบได้ยังไงว่าเครื่องฟอกอากาศทำงานได้จริง

ข่าวดีคือ การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานเครื่องฟอกอากาศนั้นเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม มลพิษอากาศที่ต่างกัน ก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไป บทความนี้จะอธิบายวิธีตรวจสอบว่าเครื่องฟอกอากาศกำจัดอนุภาคชนิดต่างๆอย่างไร ดังนี้

  • PM2.5
  • ควัน
  • ไวรัส
  • สารก่อภูมิแพ้
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs)

วิธีเช็คการกรอง PM2.5 ของเครื่องฟอกอากาศ

หากต้องการตรวจสอบประสิทธิภาพการกรอง PM2.5 ของเครื่องฟอกอากาศ ต้องทดสอบด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศ

อาจจะจริงที่เครื่องฟอกอากาศหลายรุ่นมาพร้อมเซ็นเซอร์ในตัว อย่างไรก็ตาม การทดสอบพบว่าไม่มีความแม่นยำอย่างมาก

เนื่องจากผลิตมาจากวัสดุคุณภาพปานกลาง และเครื่องวัดคุณภาพอากาศในตัวจะวัดเฉพาะอากาศรอบๆ เครื่องฟอกอากาศเท่านั้น แน่นอนว่าผลที่ได้ คุณภาพอากาศจะดีที่สุดในบริเวณนั้น

เครื่องวัดคุณภาพอากาศสองรุ่น วางข้างเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi ที่มาพร้อมเซ็นเซอร์ในตัว แสดงค่าคุณภาพอากาศที่แตกต่างกัน
เซ็นเซอร์ในตัวของเครื่องฟอกอากาศไม่แม่นยำ

แต่การวัดคุณภาพอากาศ เราต้องการทราบคุณภาพอากาศภายในอาคารแบบครอบคลุมใช่ไหมล่ะ วิธีเช็คคือ ให้วางเครื่องวัดคุณภาพอากาศห่างจากเครื่องฟอกอากาศ

การแก้ปัญหาเครื่องฟอกอากาศ

ถ้าคุณภาพอากาศอีกฝั่งนึงของห้องดี ก็มั่นใจได้ว่าเครื่องฟอกอากาศทำงานได้ดี เมื่อเครื่องวัดแสดงค่าที่สูง ควรทำดังนี้

  • ตรวจสอบว่ายังเพิ่มความเร็วพัดลมของเครื่องฟอกอากาศได้ไหม
  • ตรวจสอบว่าควรเปลี่ยนแผ่นกรอง HEPA ไหม

แผ่นกรอง HEPA มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6-24 เดือน ขึ้นอยู่กับการใช้งานและปริมาณมลพิษในอากาศ หากใช้งานเป็นระยะเวลานานกว่านั้น ก็ถึงเวลาเปลี่ยนแผ่นกรองแล้ว

เครื่องฟอกอากาศบางรุ่นมีตัวชี้ระยะเวลาการเปลี่ยนแผ่นกรอง แต่ไม่แนะนำให้เชื่อเสมอไป

ในพื้นที่ที่มีมลพิษน้อย แผ่นกรอง HEPA จะมีอายุการใช้งานยาวกว่าเวลาที่แนะนำ หากแผ่นกรอง HEPA ไม่ได้เปลี่ยนเป็นสีดำทั้งแผ่น ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่

แผ่นกรอง HEPA สองอันวางข้างกัน แผ่นที่ผ่านการใช้งานแล้วมีสีดำ อีกแผ่นใหม่และมีสีขาว
แผ่นกรอง HEPA ใหม่และที่ใช้งานแล้ววางข้างกัน

ถ้าแผ่นกรอง HEPA ยังใช้งานได้และเครื่องฟอกอากาศทำงานระดับสุดแล้ว แต่คุณภาพอากาศไม่ดีขึ้น ปัญหาอาจอยู่ที่ความแรงของเครื่องฟอกอากาศไม่เหมาะกับขนาดห้อง

ในการตรวจสอบให้ดูที่ค่า CADR (อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ หรือ Clean Air Delivery Rate) ที่สติกเกอร์ด้านหลังเครื่องฟอกอากาศ

ความสำคัญของค่า CADR

ค่า CADR บ่งบอกถึงปริมาณอากาศที่เครื่องฟอกอากาศสามารถทำความสะอาดได้ต่อชั่วโมง ตัวเลขยิ่งสูง เครื่องฟอกอากาศยิ่งมีกำลังมาก ค่า CADR ช่วยตัดสินใจว่าเครื่องฟอกอากาศมีกำลังมากพอสำหรับพื้นที่นั้นๆไหม

ห้องขนาดถึง 30 ตร.ม. เหมาะสำหรับค่า CADR ที่ 100-250 ลบ.ม./ชม. (ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง)

ถ้าห้องมีขนาด 20-40 ตร.ม. ควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีค่า CADR ที่ 250-400 ลบ.ม./ชม.

สำหรับพื้นที่ 40-60 ตร.ม. ตัวกรองควรมีค่า CADR ที่ 400-600 ลบ.ม./ชม.

Tip

ค่า CADR สำคัญที่สุดสำหรับเครื่องฟอกอากาศ

วิธีเช็คว่าเครื่องฟอกอากาศกำจัดควันได้ไหม

ควันประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กและแก๊สชนิดต่างๆ ซึ่งมีขนาดเล็กพอที่จะจัดอยู่ในหมวด PM2.5

เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องฟอกอากาศสามารถกำจัดควันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้วิธีการเดียวกับ PM2.5 ได้

แผ่นกรองคาร์บอนช่วยป้องกันจากปัญหาควันได้อีกขั้น

เพื่อประสิทธิภาพการกรองควันที่ดียิ่งขึ้น ควรเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองคาร์บอนควบคู่ แผ่นกรองคาร์บอนมีประสิทธิภาพเฉพาะตัวในการดูดซับส่วนประกอบแก๊ส เช่น สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และกลิ่นที่มากับควัน

การใช้แผ่นกรอง HEPA และแผ่นกรองคาร์บอนควบคู่กันช่วยให้คุณภาพอากาศสะอาดและลดปัญหาควัน

ใส่แผ่นกรองลงเครื่องฟอกอากาศ
แผ่นกรองคาร์บอนช่วยดูดซับสารเคมี

ตรวจสอบว่าเครื่องฟอกอากาศดักจับไวรัสได้ไหม

เครื่องฟอกอากาศที่มาพร้อมแผ่นกรอง HEPA ดักจับไวรัสได้ นับเป็นข่าวดี ส่วนสิ่งที่ยากคือ การเช็คว่าเครื่องฟอกอากาศกรองได้ถูกวิธีไหมในการกำจัดไวรัส เครื่องวัดคุณภาพอากาศจะไม่แสดงปริมาณไวรัสในอากาศ ดังนั้นเราต้องหาวิธีอื่น

หลังจากตรวจสอบแนวทางการทำงาน ก็ได้พบข้อมูลจาก WHO องค์การอนามัยโลกแนะนำจำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศ 6-12 ครั้งต่อชั่วโมง เพื่อกรองไวรัสออกอย่างมีประสิทธิภาพ (หน้า 5)

แต่จะทำได้ยังไง

การคำนวณการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง (ACH)

การคำนวณการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง (ACH) ด้วยเครื่องฟอกอากาศ ให้ตรวจสอบค่า CADR (อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ หรือ Clean Air Delivery Rate) ก่อน ถ้าค่า CADR แสดงเป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (ลบ.ม./ชม.) ให้หารด้วยปริมาณของห้อง (ลบ.ม.)

การคำนวณ ACH

ถ้าค่า CADR เป็นลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (ลบ.ฟุต/นาที) ให้คูณด้วย 60 แล้วหารด้วยปริมาตรห้องเป็นลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)

การคำนวณ ACH

การคำนวณนี้จะได้ผลลัพธ์การไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง

เช่น หากค่า CADR ของเครื่องฟอกอากาศ = 350 ลบ.ม./ชม. และปริมาณห้อง = 100 ลบ.ม. ค่าการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง จะเท่ากับ 350 ÷ 100 หรือ 3.5

ในกรณีนี้ เครื่องฟอกอากาศจึงมีกำลังไม่มากพออ้างอิงจาก WHO ดังนั้นต้องใช้เครื่องฟอกอากาศเพิ่มอีกหนึ่งเครื่องในพื้นที่นั้นๆ หรือซื้อเครื่องฟอกอากาศที่มีกำลังมากขึ้น

วิธีเช็คการกำจัดสารก่อภูมิแพ้ของเครื่องฟอกอากาศ

ในการเช็คว่าเครื่องฟอกอากาศมีประสิทธิภาพไหมในการกำจัดสารก่อภูมิแพ้และละอองเกสร ให้สังเกตุจากอาการที่บรรเทาลง หากอาการภูมิแพ้ลดลง นั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าเครื่องกรองอากาศมีประสิทธิภาพ

แต่หากอาการไม่บรรเทาลง ให้ใช้วิธีการเดียวกับการเช็ค PM2.5 คือ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแผ่นกรอง HEPA ยังใช้งานได้ เครื่องฟอกอากาศทำงานในระดับความแรงสูงสุด และมีขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง

ผู้หญิงกำลังจามใส่กระดาษทิชชู่
ถ้ายังมีอาการอยู่ เช่น การจาม อาจต้องเช็คใหม่ว่าเครื่องฟอกอากาศทำงานได้ปกติไหม

วิธีเช็คการกำจัดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) ของเครื่องฟอกอากาศ

แผ่นกรอง HEPA มีประสิทธิภาพในการดักจับอนุภาค เช่น PM2.5 สปอร์เชื้อรา ขนสัตว์เลี้ยง ละอองเกสร แบคทีเรีย และไวรัส แต่ไม่สามารถกำจัดสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) ในอากาศได้

สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) เป็นสารเคมีที่พบในผลิตภัณฑ์ประจำวันหลายอย่าง เช่น สี น้ำยาทำความสะอาด หรือแม้กระทั่งเฟอร์นิเจอร์ใหม่จากโรงงาน

ในการกรอง TVOCs ต้องใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองคาร์บอน ซึ่งใช้ถ่านกัมมันต์เพื่อดูดซับ TVOCs จากอากาศ และเครื่องฟอกอากาศหลายรุ่นมาพร้อมแผ่นกรองคาร์บอน

ในการตรวจสอบว่าเครื่องฟอกอากาศสามารถกรอง TVOCs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศที่มีเซ็นเซอร์ TVOC ซึ่งจะแสดงค่าที่สูงหากมีการตรวจพบสารประกอบระเหยง่ายในพื้นที่นั้นๆ

อย่างไรก็ตาม เซ็นเซอร์ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างสารเคมีที่ปลอดภัยและที่อันตรายได้ เช่น เซ็นเซอร์ตอบสนองต่อสารเคมีอันตรายอย่าง ฟอร์มัลดีไฮด์ และแม้กระทั่งเปลือกส้มหรือไวน์ขาว

GIF เครื่องวัดคุณภาพอากาศวางข้างไวน์ขาว
เซ็นเซอร์ TVOC ให้ผลลัพธ์สูงข้างแก้วไวน์

ถ้าค่า TVOC ต่ำกว่า 1 มก./ลบ.ม. เครื่องฟอกอากาศทำงานได้ดี แต่ถ้าผลลัพธ์สูงกว่านั้น ควรเปลี่ยนแผ่นกรองคาร์บอนหรือเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ

สรุป

ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ ให้ใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศเพื่อเช็คสารปนเปื้อนอย่าง PM2.5 ควัน สารก่อภูมิแพ้ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) สำหรับไวรัส เนื่องจากเครื่องวัดไม่สามารถตรวจจับได้ ให้ใช้วิธีที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำ คือให้อากาศมีการไหลเวียน 6-12 ครั้งต่อชั่วโมง ตรวจสอบค่า CADR ของเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะกับขนาดห้อง และเปลี่ยนแผ่นกรอง HEPA และแผ่นกรองคาร์บอนอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

คำถามที่พบบ่อย

จะเช็คว่าเครื่องฟอกอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เทียบค่า CADR (อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ หรือ Clean Air Delivery Rate) กับขนาดห้อง จากนั้นใช้เครื่องวัดคุณภาพอากาศเพื่อวัดสารปนเปื้อน เช่น PM2.5 ควัน สารก่อภูมิแพ้ และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOCs) สำหรับไวรัส ให้ใช้วิธีที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำ คือให้อากาศมีการไหลเวียน 6-12 ครั้งต่อชั่วโมง

เช็คการทำงานของเครื่องฟอกอากาศที่บ้านโดยวางเครื่องวัดคุณภาพอากาศให้ห่างจากเครื่องฟอกอากาศ เพื่อความแม่นยำในการอ่านค่า PM2.5 ควัน และสารปนเปื้อนอื่นๆ สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้หรือทางเดินหายใจ เพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ

เครื่องฟอกอากาศแต่ละรุ่นใช้เวลาแตกต่างกันไป ในบางกรณี คุณภาพอากาศที่เปลี่ยนสามารถเห็นได้ภายในไม่กี่นาที โดยเฉพาะในห้องขนาดเล็ก และเมื่อใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีขนาดเหมาะกับขนาดห้อง จะเห็นคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนภายใน 1-3 ชั่วโมง

ใช่ การใช้งานเครื่องฟอกอากาศสร้างความแตกต่างของคุณภาพอากาศได้ คุณภาพอากาศที่ดีขึ้นช่วยลดของอาการภูมิแพ้ การสะสมชองฝุ่น และช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาอาการผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจได้

Karl von Luckwald

Karl von Luckwald

Since moving to Thailand in 2019, Karl noticed the lack of scientific integrity in air purifier and water filter reviews. In response, he founded WE DO AIR to champion unbiased, science-based evaluations and empower consumers to make better-informed decisions.