ฝุ่น pm 2.5 เกิดจากอะไร? เผยสาเหตุหลักของฝุ่นพิษที่คร่าชีวิตคน

by Peemanus Tongpiem | พฤศจิกายน 17, 2023

ท้องฟ้าที่สดใสไร้มลพิษและอากาศที่สะอาดเป็นมิตรต่อปอดของเรามันได้หายไปแล้ว มันถูกแทนที่ด้วยหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เรียกว่า PM 2.5 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือฝุ่น PM2.5 กลายเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากสำหรับคนไทย เนื่องจากมีผลกระทบต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเรา แต่สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากอะไร? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักมันให้มากขึ้นและไขข้อสงสัยที่ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร

ก่อนที่เราจะสำรวจแหล่งกำเนิดและสาเหตุของฝุ่น PM2.5 สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าฝุ่น PM2.5 คืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญ

อนุภาค PM2.5 เป็นเรื่องที่น่ากังวลเนื่องจากขนาดของมันที่เล็กมากๆ พอที่จะหลบหลีกกลไกการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น ขนจมูกและน้ำมูกในระบบทางเดินหายใจของเรา และเจาะลึกเข้าไปในปอด กระทั่งเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ทั้งนำไปสู่ปัญหาระบบทางเดินหายใจและหัวใจและหลอดเลือดได้ รวมถึงโรคหอบหืด หลอดลมอักเสบ หัวใจวาย และแม้กระทั่งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

ตอนนี้เราเข้าใจถึงความสำคัญของ PM2.5 แล้ว เรามาดูกันว่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดจากไหน

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากแหล่งธรรมชาติ

1. ไฟป่า 

ภัยธรรมชาติอย่างไฟป่า สามารถก่อให้เกิด PM2.5 ได้ในปริมาณมาก เมื่อเกิดการเผาไหม้ของต้นไม้ ใบหญ้า และพืชพรรณต่างๆ จะอนุภาคขนาดเล็กจะถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ

อนุภาคเหล่านี้สามารถพัดพาไปตามแรงลมได้ไกลมากๆ แม้กระทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ห่างจากบริเวณไฟป่าก็อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษเหล่านี้

2. ฝุ่นและการพังทลายของดิน

กระบวนการทางธรรมชาติ เช่น พายุฝุ่น และการพังทลายของดิน อาจทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในอากาศได้ เมื่อเกิดลมแรงและพัดพาฝุ่นละอองขนาดเล็กและอนุภาคในดิน ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้จะลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดสภาวะที่มีระดับ PM2.5 เพิ่มขึ้น

3. การปะทุของภูเขาไฟ 

การปะทุของภูเขาไฟจะปล่อยก๊าซ เถ้า และอนุภาคขนาดเล็กออกสู่ชั้นบรรยากาศ อนุภาคที่ มาจากภูเขาไฟเหล่านี้จะมีปริมาณ PM2.5 อยู่มากและอาจลอยไปไกลถึงประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก

4. สเปรย์ทะเล

สเปรย์ทะเลที่เกิดจากการแตกตัวของคลื่น สามารถปล่อยอนุภาคเกลือเล็กๆ ขึ้นไปในอากาศได้ อนุภาคเกลือเหล่านี้สามารถรวมกับมลพิษอื่น ๆ เพื่อสร้างอนุภาค PM2.5 ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดปัญหาฝุ่นและมลพิษทางอากาศบริเวณชายฝั่ง

ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากมนุษย์

แม้ว่าแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติของ PM2.5 จะเป็นปัจจัยสำคัญ แต่กิจกรรมของมนุษย์ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา

แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5 จากมนุษย์สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทดังนี้

1. การผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมต่างๆ

อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตไฟฟ้า และการก่อสร้าง มีการปล่อยมลพิษหลากหลายชนิดออกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงฝุ่น PM2.5 ด้วยเช่นกัน

2. การคมนาคม

ยานพาหนะ โดยเฉพาะยานยนต์ที่ใช้การขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์และใช้การเผาไหม้เชื้อเพลิง จะปล่อย PM2.5 ออกมาจำนวนมาก เช่น ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถ

ซึ่งไม่เพียงแต่รถยนต์และรถบรรทุกเท่านั้น แต่ยังรวมทั้งเรือ เครื่องบิน และรถไฟด้วย นอกจากนี้การสึกหรอของเบรกและยางยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในเขตเมืองด้วย

3. กิจกรรมทางการเกษตร

กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการเกษตรเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของฝุ่น PM2.5 ไม่ว่าจะเป็น การไถพรวน การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง และการเลี้ยงปศุสัตว์

กิจกรรมทางการเกษตรเหล่านี้นอกจากจะเป็นปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กแล้ว ยังปล่อยก๊าซเรือนอีกด้วย ซึ่งล้วนมีบทบาทในการเพิ่มอนุภาค PM2.5 ในอากาศ

4. การปรุงอาหารในที่อยู่อาศัย

การเผาไหม้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ไม้และถ่านหินเพื่อให้ความร้อนและการปรุงอาหารในครัวเรือนสามารถปล่อย PM2.5 ได้ในปริมาณมาก การเผาไหม้ที่ไม่มีประสิทธิภาพและการระบายอากาศที่ไม่ดีทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น

5. การก่อสร้างและการรื้อถอน

กิจกรรมการก่อสร้างและการรื้อถอนสามารถสร้างอนุภาคผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การผสมคอนกรีต การตัด และการขัดทราย ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากกิจกรรมเหล่านี้สามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นระยะเวลานาน

6. เกิดจากการเผาในที่โล่งแจ้ง

PM2.5 สามารถเกิดจากการเผาในที่โล่ง เช่น การเผาขยะ พลาสติกหรือวัสดุอื่นๆ การเผาไหม้เหล่านี้จะปล่อยอนุภาคขนาดเล็กออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งมลพิษทางอากาศและผลเสียต่อสุขภาพ

สรุป

ในประเทศไทยปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือฝุ่น PM2.5 เกิดจากทั้งแหล่งธรรมชาติ เช่น ไฟป่า พายุฝุ่น ภูเขาไฟระเบิด และสเปรย์ในทะเล และเกิดจากมนุษย์ เช่น การปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรม การขนส่ง เกษตรกรรม การก่อสร้าง และการเผาขยะ ซึ่งสาเหตุทั้งหมดเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพอากาศและเป็นอันตรายต่อทั้งสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์

Peemanus Tongpiem

About the Author

Peemanus Tongpiem

เราให้ความสำคัญกับอาหารที่เรารับประทาน 3 มื้อต่อวัน แต่เรากลับละเลยอากาศที่เราใช้หายใจมากกว่า 10 ครั้งต่อนาที เป็นเหตุให้ผมเริ่มค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศ เพื่อให้ผู้คนตระถึงความสำคัญของการใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

มีข้อสงสัยใช่ไหม แอดไลน์เรามาสิ
คลิกที่นี่เพื่อพูดคุยกับเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง